วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อคิดเตือนใจ

               ข้อคิดเตือนใจ ที่ว่าลูกของใครใครก็รัก แต่การที่รักและตามใจลูกจนเกินไปบางครั้งความรักของพ่อแม่ก็อาจจะฆ่าลูกและฆ่าตนเองด้วย

                  อิเหนา เป็นบทละครที่มีเนื้อหาเป็นที่นิยม เนื่องด้วยสำนวนกลอนมีความไพเราะและเหมาะที่จะนำไปเล่นละคร แม้จะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมและรสนิยมของคนไทยได้โดยไม่ขัดกับเรื่องเดิม นอกจากนี้ผู้อ่านยังอาจแสวงหาความรู้เรื่องประเพณีไทยได้ ด้วยเหตุนี้บทละครเรื่องอิเหนาจึงเป็นวรรณคดีที่มีความโดเด่นและควรค่าแก่การอ่านเป็นอย่างยิ่ง

คุณค่าด้านกลวิธีการแต่ง

คุณค่าด้านกลวิธีการแต่ง

๑. จินตภาพ กวีใช้คำบรรยายได้ชัดเจน สามารถทำให้ผู้อ่านสามารถคิดภาพตามและได้รับอรรถรสในการอ่านมากขึ้น
๒.   ภาพพจน์ ภาพพจน์ที่กวีใช้มีหลายลักษณะ ดังนี้

                   ๒.๑) การเปรียบเทียบแบบอุปมา หรืออุปมาโวหาร เป็นการใช้โวหารเปรียบเทียบโดยใช้คำเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนสิ่งหนึ่ง ทำใอ่านเพิ่มเติม

คุณค่าด้านความรู้และความคิด

คุณค่าด้านความรู้และความคิด

๑)แสดงให้เห็นความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมโบราณ

๒)   แสดงให้เห็นถึงสภาพการศึกสงครามเมื่อครั้งอดีต

ความดีเด่นด้านกลวิธีการแต่ง

ความดีเด่นด้านกลวิธีการแต่ง
1 การใช้สำนวนโวหาร
     นิทานเวตาล ฉบับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  มีการใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบที่ไพเราะและทำให้เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น
2 การใช้กวีโวหาร
      พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงแปลนิทานเวตาลด้วยภาษาที่กระชับ อ่านง่าย มีบางตอนที่ทรงใช้สำนวนภาษาบาลี ซึ่งไม่คุ้นหูผู้อ่านในยุคนี้ เพราะไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน

เนื้อเรื่องย่อ

เนื้อเรื่องย่อ

ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
   ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร

เนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่อง

         เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
           ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก

            ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุอ่านเพิ่มเติม


ประวัติผู้แต่ง

ประวัติผู้แต่ง

           พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า “น.ม.ส.” ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) “รัชนีแจ่มจรัส”

ลักษณะคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์

     นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า “สำนวน น.ม.ส.”

ความเป็นมาของนิทานเวตาล

ความเป็นมา
           
             นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
                   นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่